แท็กซี่เอื้ออาทร 

รัฐคลอดโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร  เปิดจองไม่เกิน  15  กรกฎาคมนี้   

ประเดิมลอตแรก  6,000 คัน  ราคาไม่เกินคันละ  700,000  บาท กำหนดผ่อนรายวัน วันละ  550  บาท

                                                เตรียมเปิดศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์รองรับ
                                                       นายสหัส  ตรีทิพยบุตร  รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย  เปิดเผยว่า 
              โครงการแท็กซี่เอื้ออาทรซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทยนั้น
                             จะเปิดให้ประชาชนผู้สนใจสามารถจองรถแท็กซี่เอื้ออาทร ได้ไม่เกิน  15  กรกฎาคมนี้   

      โดยลอตแรกกำหนดไว้ 6,000 คัน  จากจำนวน  100,000  คัน  สำหรับราคารถเบื้องต้น กำหนดไม่เกินคันละ 700,000 บา

                                 กำหนดผ่อนชำระไม่เกินวันละ  550  บาท  ระยะเวลาการผ่อนชำระ  4 ปี 6 เดือน  

อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่จองรถแท็กซี่เอื้ออาทร  จะได้รับรถอย่างเร็วเดือน ธันวาคม นี้

                         "โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร จะเปิดให้จองไม่เกิน  15  กค. นี้  ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาสถานที่รับจอง  
             คาดว่าจะเป็นศูนย์ประชุมแห่งชาติศิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่มีขนาดใหญ่   สามารถรองรับผู้สนใจเข้ามาจองเป็นจำนวนมากได้
                               อย่างไรก็ตาม  การที่กำหนดรถแท็กซี่เอื้ออาทรลอตแรกไว้เพียง  6,000  คัน 
                เนื่องจาก บริษัท ปตท.มีข้อจำกัดในเรื่องของปั๊มแก๊สเอ็นจีวี ถ้ายอดรถแท็กซี่จำนวนมาก  ปั๊มแก๊สเอ็นจีวีจะไม่เพียงพอ
                     เนื่องจากตามแผนงานของบริษัท ปตท. สิ้นปีนี้  จะมีปั๊มแก๊สเอ็นจีวีในเขตกรุงเทพฯ  และปริมณฑล  30 ปั๊ม"
                       ทั้งนี้  ประมาณปลายเดือน ก.ค. นี้  กำหนดให้บริษัทรถยนต์ที่สนใจขายรถให้แก่โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร

สามารถยื่นเงื่อนไขข้อเสนอ  (ทีโออาร์)  โดยหลักเกณฑ์ที่กำหนดในเบื้องต้น คือ 

รูปแบบจะต้องเป็นรถแวน   บริษัทจะต้องติดตั้งถังแก๊สเอ็นจีวี  และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้

                "โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ  และมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรถแท็กซี่ที่ใช้ในโครงการนี้
                                     จะใช้แก๊สเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งราคาแก๊สเอ็นจีวี จะถูกกว่าน้ำมันเบนซิน  
                                          โดยแท็กซี่ที่ใช้น้ำมันเบนซิน จะเสียค่าน้ำมัน วันละ  500  บาท  
                                ขณะที่รถใช้แก๊สเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง จะมีค่าใช้จ่ายเพียง วันละ  200  บาทกว่า เท่านั้น"
             นายสหัสกล่าวว่า  โครงการแท็กซี่เอื้ออาทรนั้น เป็นไปตามนโยบายกระทรวงพลังงาน   ที่พยายามผลักดันให้ประหยัดพลังงาน

       และลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ  จึงมีนโยบายให้รถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง  

                                         ซึ่งก๊าซธรรมชาติสามารถขุดได้เองภายในประเทศ  อย่างไรก็ตาม 

 โครงการนี้นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศแล้ว  ยังสามารถช่วยลดมลภาวะเป็นพิษได้อีกด้วย

ทั้งนี้  ในส่วนของธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ให้แก่ผู้ที่สนใจซื้อรถแท็กซี่ในโครงการนี้   

                                   และบริษัท ปตท. จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้ก๊าซเอ็นจีวีมาเป็นเชื้อเพลิงของรถแท็กซี่
          หลังจากรัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ปรากฎว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการตื่นตัวอย่างมาก  เพราะโครงการนี้กำหนด
 รถที่เข้าร่วมโครงการสูงถึง  100,000 คัน  ถ้าบริษัทใดประมูลได้ จะสามารถสร้างรายได้เข้าบริษัทเป็นจำนวนมาก  โดยบริษัทรถยนต์ที่สนใจเข้าร่วม
โครงการได้แก่  บริษัทไทยรุ่งยูเนียนคาร์      บริษัทเอ็มซีซีสิทธิผล    และบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  เป็นต้น
                                         ข่าวไทยรัฐ  ฉบับวันพฤหัสบดีที่  22 พฤษภาคม 2546  หน้า 9

                            นายอนันตผล  พันธุ์เพ็ง   ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส และผู้บริหารสถาบันพัฒนาสินเชื่อ SMEs  ธนาคารกรุงไทย  เผยว่า โครงการแท็กซี่

เอื้ออาทร  เริ่มมีความชัดเจนขึ้นแล้ว ภายหลังจากธนาคารได้เข้าหารือกับนายแพทย์พรหมินทร์  เลิศสุริย์เดช  รมว.พลังงาน  ซึ่งกระทรวงพลังงานก็เห็นด้วย
เพราะต้องการให้รถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ  (เอ็นจีวี) เพื่อลดมลภาวะในกรุงเทพฯ   โดยกระทรวงพลังงานจะเป็นแกนนำในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร
โดยมีบริษัท ปตท. และธนาคารกรุงไทยร่วมดำเนินการ  ซึ่งจะเห็นโครงการเป็นรูปธรรมใน 6 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะมีคนซื้อแท็กซี่เอื้ออาทร  20,000  คัน 
ในปีแรกหมายเหตุ  :  หาประสงค์จะทราบรายละเอียด  สอบถามได้จากหน่วยงานทั้งสามหน่วย
                                                                ข่าวสด   หน้า 8  คอลัมม์ เศรษฐกิจ ปราศรัย    โดย  ถุงแดง
           คำยอดฮิตของรัฐบาล ทักษิณ  ชินวัตร  ในวงสนทนามีอยู่   2  คำ  คือ "ตัด ตอน" และ "เอื้ออาทร"  คำหลังเป็นโครงการยอดนิยม
ประเภทเอื้ออาทรต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ  ทยอยชักแถวออกมาไม่ขาดสายแท็กซี่เอื้ออาทร   ที่ น.พ.พรมมินทร์  เลิศสุริย์เดช  รมว.พลังงาน 
จับนโยบายส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี)  ในภาคการขนส่ง  เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันมาจุดประกายให้ธนาคารกรุงไทย  ลงแรงเป็น 
เจ้าภาพปล่อยกู้ เต็มวงเงิน  100% คิดดอกเบี้ยต่ำ ให้กับ แท็กซี่ป้ายแดง ที่ติดเครื่องยนต์ใช้ เอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิง เตรียมปล่อยหมัดเด็ด
"เติมก๊าซเอ็นจีวี  ได้รถใหม่ขับ" เอาใจบรรดาคนขับรถแท็กซี่รับจ้าง กัดฟันผ่อนเงิน วันละ  500 - 600 บาท  ระยะเวลา  5  ปี   ก็มีโอกาสได้เป็น
 เจ้าของรถเองได้ ไม่ต้องง้อรถเช่าจากอู่ตามแผนเบื้องต้น แบงก์กรุงไทย จะไขเซฟ ออกมาปล่อยสินเชื่อ ถอยรถแท็กซี่ป้ายแดงวงเงินประมาณ
7 - 8  แสนบาท ต่อราย  คุณสมบัติผู้กู้จะต้องทำอาชีพขับรถแท็กซี่มาแล้วอย่างน้อย 3  ปี และยังเปิดช่องให้สามารถใช้บุคคลค้ำประกันเงินกู้
แทนหลักทรัพย์ได้ เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อรถแท็กซี่ใหม่ประมาณ  3 หมื่นคัน และอีก 5 ปีข้างหน้า  จะมีรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ทดแทนน้ำ
มันวิ่งกันให้เกลื่อนเมืองถึง 1 แสนคันเป็นโครงการที่ดี  แต่มีโจทย์อีกหลายข้อต้องขบให้แตก  เช่น  ด้านค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา หรือซ่อม
แซมเครื่องยนต์เอ็นจีวี ที่ยังต้องสั่งนำเข้ามา  จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก  รถแท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนและเสียภาษีในปีงบประมาณ  2545 
เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มียอดรวมถึง  50,234  คัน   หากแท็กซี่เอื้ออาทรเข้ามาในระบบ  ปริมาณรถแท็กซี่ จะเกินความต้องการหรือไม่ และใน
จำนวน  3  หมื่น หรือ หนึ่งแสนคันนี้จะเป็นเอ็นพีแอลเท่าไหร่?
 
          Tell a friend:
 
    
         
home