น้ำมันเบรค
 
 
                         น้ำมันเบรค

      ระบบน้ำมันเบรคเป็นระบบปิด ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนบ่อยๆเหมือนน้ำมันเครี่อง และความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของส่วนประกอบในระบบเบรคมีไม่มากนัก จะมีก็ อุณหภูมิที่จะทำให้น้ำมันเบรคเสื่อมสภาพได้ แต่น้ำมันเบรคชนิดที่ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด ก็จะทนอุณหภูมิสูงๆได้นานๆอยู่แล้ว ดังนั้นโดยปกติเราจะเปลี่ยนน้ำมันเบรคกันที่ 40,000 กม. การเปลี่ยนบ่อยกว่านั้น ไม่มีผลเสียครับนอกจากเสียเงิน แต่การใช้ไปยาวกว่านี้มีผลเสียทำให้ ประสิทธิภาพในการเบรคค่อยๆลดลง และอาจเกิดอันตรายจากการกะระยะผิดได้นะครับ รถของท่านเปลี่ยนน้ำมันเบรคครั้งสุดท้ายไปเมื่อไหร่ครับ ลองจดการบันทึกเปลี่ยนน้ำมันต่างๆไว้ในสมุดคู่มือประจำรถ กันลืมจะช่วยได้เยอะเลยครับ และการเก็บใบเสร็จทั้งหมดที่เกี่ยวกับรถตั้งแต่เริ่มใช้ก็จะช่วยได้ทั้งตอนใช้อยู่เอง และตอนขายนะครับ

                    ความร้อนเครื่องยนต์
เป็นปัญหาติดตัวของรถบางรุ่น ในการลองรถท่านควรจะใช้เวลาพอสมควรและสังเกตุ เข็มความร้อนในระหว่างที่ลอง โดยเฉพาะช่วงรถติด จะเป็นตัววัดได้ดีที่สุด เพราะไม่มีลมปะทะช่วยระบายความร้อนจากหม้อน้ำ การลองรถในเขตรถติดก็จะทดสอบเรื่องนี้ได้ดี อย่ามองข้ามนะครับ เพราะการแก้ปัญหาภายหลังไม่ว่า การขยายหม้อน้ำ หรืออาจเป็นการซ่อม-เปลี่ยนพัดลมหม้อน้ำ บางรุ่นก็หลายพันทีเดียว บางครั้งแก้ไม่ตกบ่อยๆก็เสียเวลาและทำให้เบื่อรถคันนั้นไปได้ซะเฉยๆ และการนัดดูรถตอนกลางวันจะช่วยเช็คเรื่องนี้ได้ง่ายมากทีเดียว
                         การปฎิบัติเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด ควรทำดังนี้ ...
  • นำรถเข้าจอดข้างทางแล้วดับเครื่องยนต์
  • เปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อให้ความร้อนระบายออกจากเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด อย่าใช้น้ำราดเพราะจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย ถ้าในกรณีมีไอน้ำพุ่งออกมาจากฝากระโปรงหน้ารถ อย่าเพิ่งเปิดฝากระโปรงหน้ารถ ให้รอจน หมดไอน้ำพุ่งแล้วจึงค่อยเปิด
  • ให้รอจนเครื่องยนต์อุณหภูมิลดลงแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำอย่าเปิดฝาหม้อน้ำทันที เพราะภายในหม้อน้ำยังร้อนจัด และมีแรงดันสูงน้ำอาจจะพุ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและควรสวมถุงมือหรือใช้ผ้าหนาๆในระหว่างเปิดฝาหม้อน้ำ และออกแรงกดไว้ด้วยขณะหมุนป้องกันไอน้ำพุ่งใส่หน้า แล้วจึงค่อยๆหมุนออก
  • เมื่อเครื่องยนต์เย็นแล้ว ให้เติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ อย่าเติมในขณะร้อนจัด เพราะน้ำเย็นจะเข้าไปทำให้ชิ้นส่วนใน เครื่องยนต์ ที่ ซึ่งกำลังร้อนจัดอยู่ บิดได้
  • ให้ค่อยๆเติมน้ำอย่างช้าๆ แล้วติดเครื่องด้วยรอบเดินเบา เมื่อเติมน้ำเต็มระบบแล้ว ทิ้งสักพักหนึ่ง แล้วดูสิ่งผิดปกติ
  • ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติ ก็น้ำรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้งหนี่ง แต่ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ติดต่อศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด
  •  
                                ข้อควรระวังในการขับรถท่ามกลางฝน
              ปกติถ้าท่านขับต่างจังหวัดด้วยความเร็วซักประมาณ 100-140 กม./ชม. เมื่อเข้าเขตฝนตกจะตั้งตัวแทบไม่ทัน เพราะมันเร็วมาก สิ่งที่ควรทำคือลดเกียร์มาเกียร์ 4 แตะเบรคช่วยเล็กน้อย พอได้ความเร็วที่ปลอดภัยแล้ว เปลี่ยนกับไปเกียร์ 5 ได้ แต่ถ้าท่านแตะเบรคอย่าง ท่านเดียวต้องมั่นใจว่า ถนนด้านหน้าไม่มีแอ่งน้ำ ที่จะทำให้ล้อล็อคได้ที่ความเร็วขนาดนั้น หรือรถท่านมีระบบเบรค ABS รถปัดที่ความเร็วขนาดนั้นอันตรายมากนะครับ
    1. ใช้ความเร็วที่ปลอดภัยไม่ควรเกิน 80 กม./ชม. แล้วแต่ความหนักของฝน ยิ่งขับเร็วจะยิ่งรู้สึกว่าฝนตกหนัก เพราะเราวิ่งไปหาเม็ดฝน ช้าหน่อย ดีกว่า ถึงแน่นอน
    2. ทิ้งระยะห่างจากคันหน้าเพิ่มเป็น 2 เท่า
    3. ทำไงก็ได้ให้คันหลังห่างจากเรามากหน่อย (การโดนชนท้าย กร่อยเหมือนกันนะครับ) เช่น คันไหนจี้ ปล่อยให้แซงไปเลย ถ้าเห็นคันหลังที่ขับด้วยความเร็วเฉลี่ยพอๆกันแล้ว ท่านอาจจะแตะแป้นเบรคเบาๆ เป็นบางครั้งให้คันหลังเห็นจะได้ระวังมากขึ้น
    4. ระยะเบรคของเราจะเพิ่มขึ้นและล้ออาจจะลื่นได้ง่าย ดังนั้นเวลาเบรคควรใช้ลดเกียร์ต่ำช่วย ถ้าเป็นเกียร์ auto ให้เผื่อระยะเบรคเพิ่มขึ้น และสังเกตุ คันหน้าให้ดีๆว่ามีการขับหลบอะไรหรือไม่ เช่น แอ่งน้ำ , รถจอดเสีย หรือชน เพื่อจะได้หลบตามได้ทัน อ้อ มองกระจกข้างเป็นระยะๆด้วยนะครับ
    5. การแซงซ้าย เป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก ท่านอาจแซงไม่พ้นเหราะ อาจจะเจอกับ น้ำท่วมที่ลึกกว่าเลนขวาเพราะถนนบ้านเราเอียงซ้ายหรือ แอ่งน้ำจากหลุมที่รถบรรทุกซึ่งวิ่งเลนซ้ายทำไว้ ที่บางหลุมอาจมองไม่เห็นเพราะน้ำท่วมบังอยู่ หรือ รถที่เราจะแซงรีดน้ำและโคลนจากถนนใส่เราเต็มๆ ไม่ได้แกล้งแต่เพราะเค้าอยู่หน้าเรา หรือ อาจมีรถเสียจอดบนเลนซ้าย เองเลยแล้วยังไม่ได้เข็นไปไหล่ทาง และอื่นๆอีกมากมาย ดั้งนั้นท่านควรจะระวังเป็นอย่างมาก หรืออย่าแซงถ้าไม่ได้ช้าจริงๆ เพราะเวลาไปอยู่เลนซ้ายท่านอาจจะไม่ได้ใช้ความเร็วเท่าที่ท่านจะแซงได้
    6. เวลาเปลี่ยนให้เลนเว้นช่วงจากคันหน้าของทั้งสองเลนให้มากขึ้นเพราะอาจจะมีการหยุดกระทันหันจากเลนใด เลนหนึ่งได้ แม้ว่าท่านจะแตะเบรคทันแต่ รถอาจหยุดไม่ทันเพราะเบรคและล้อลื่น รวมทั้งให้ค่อยๆเปลี่ยนเพราะอาจมีรถจอดเสีย หรือ ชนกันที่เลนใดๆอยู่ก็ได้ โดยเฉพาะถ้าเลนเราติดแต่เลนข้างๆเราโล่งผิดปกติ
    7. รักษาอุณหภูมิในรถให้เท่าหรือเย็นกว่าภายนอก ถ้าท่านปิดแอร์เพราะหนาวไม่นานจะเห็นฝ้าขึ้น กระจกหลังอาจมีลวดละลายฝ้า แต่กระจกหน้าเช็ดลำบาก รวมทั้งกระจกรถด้านซ้ายเวลามองกระจกข้างด้วย ห่มผ้าห้มเอาหน่อยแล้วกัน
                              น้ำเข้ารถ
  • ทำให้แห้งเร็วที่สุด หลังจากที่วิดน้ำออกแล้ว ใช้เครื่องดูดฝุ่นช่วยเป่า เอาผ้าแห้งๆมาเยอะๆซับน้ำจากตัวพรม ให้มากที่สุด เปิดประตูให้หมดจอดตากแดดไว้เลยเอา เอาพรมรองเท้าชิ้นๆออกมาตาก ระวังฝนตกด้วย และจอดในที่ปลอดภัยนะครับ
  • อย่าเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าจนกว่าพื้นจะแห้งสนิท ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ เครื่องเสียง กระจกไฟฟ้าที่มีแป้นบังคับตรงแถวๆเกียร์
  • ถ้าแช่น้ำนานๆเกิน 8 ชม. เช่นตื่นมาตอนเช้าเจอรถจอดในน้ำ! ควรจะ ไปให้ช่างตรวจเช็ค อาจจะต้องมีการรื้อพรมเช็คระบบไฟต่างๆขึ้นกับรถครับ
  • กลางคืนเอา ถ่าน ไว้ในรถดูดกลิ่นและความชื้น เปิดหน้าต่างแง้มไว้หน่อย เพราะความชื้นที่อับๆมากๆจะทำให้ระบบไฟรวนและอายุสั้นลง โดยหาผ้ามุ้งหรือมุ้งลวดมากันแมลงเข้ารถแทน
  •       โดยปกติ รถที่ออกจากโรงงานจะมีการพ่นเคลียร์หรือแล็กเกอร์ทับชั้นบนสุดเป็นชั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการป้อง กันการจางและรอยขูดขีดของสีที่เกิดขึ้นเล็กน้อยได้ ซึ่งเหมือนกับการเคลือบสีนั่นเอง รถที่อายุไม่เกินซัก 4-7 ปี ขึ้นกับการใช้งานว่าจอดตากแดดแค่ไหน โดยทั่วไปรถประมาณนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเคลือบสีอีก เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ นอกจากนี้การเคลือบสีก็จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณ พื้นผิวของชิ้นงานที่เราต้องการทำการเคลือบสี โดยต้องขัดผิวหน้าของสีออก ซึ่งการขัดผิวหน้าของสีออก อาจจะทำให้สีของรถบางลงไปกว่าเดิมด้วย ดังนั้นหากท่านต้องการจะทำให้สีของรถดูมีสภาพเหมือนใหม่ ท่านจึงควรที่จะทาความสะอาดรถอยู่เสมอโดยการล้างรถด้วยแชมพูสำหรับล้างรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกัน การซีดจางของสีรถ และควรเช็ดน้ำให้แห้งอยู่เสมอ ก็จะดูใหม่ตลอดเวลา ส่วนถ้ารถท่านอายุมากกว่านั้น หรือเห็นว่าสีเริ่มด้านนิดๆ บางส่วนแล้วโดยเฉพาะหลังคากับฝากระโปรงหน้าละก็น่าจะเคลือบสีไวั เพื่อยืดอายุความสวยงามออกไปอีกได้
                            พวงมาลัยพาวเวอร์
                 พวงมาลัยพาวเวอร์จะเพิ่มหรือลดแรงในการเปลี่ยนมุมล้อตามสัดส่วนของแรงต้านที่เกิด ขึ้น ถ้ามีแรงต้านมาก ปั๊มป์น้ำมันไฮดรอลิกจะทำงานมากขึ้น ทำให้มีการไหลและแรงดัน มาก ทำให้เราออกแรงหมุนน้อยลงได้ เพราะปั๊มทำงานแทนเราไปเยอะเลย ดังนั้นเวลาเรา หักเลี้ยวสุดๆ ก็จะเกิดแรงดันในตัวปั๊มสุดๆ ตามไปด้วย แต่ถึงยังไงก็ตาม เค้าก็ออกแบบ ระบบมาให้มีวาล์วระบายแรงดันในตัวปั๊มป์ออกไปบ้างได้ เพื่อไม่ให้ระบบไฮดรอลิกพัง ดังนั้นการหักเลี้ยวสุดๆในกรณีที่รถวิ่งอยู่ ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่...ถ้ารถท่านจอดอยู่ ละก็ ไม่ควรครับ ไม่ควร การหักเลี้ยวสุดๆเวลารถจอดอยู่กับที่เป็นเวลานาน จะทำให้ระบบ มีอายุสั้นลงเพราะน้ำมันไฮดรอลิกจะมีแรงดันมาก และไหลเร็วกว่าปกติ ทำให้ชิ้นส่วนที่ เป็นยางต่างๆในระบบมีอายุการใช้งานสั้นลง ใช้รถให้คุ้ม ใช้กันยาวๆกันดีกว่า
     
                                  รายชื่อ ทางโค้งอันตราย มีอุบัติเหตุบ่อย!

                       โปรดเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะผ่านโค้งเหล่านี้

    บริเวณใกล้ทางรถไฟสายใต้ - ถนนประชาราษฎร์ ปากซอยหมู่บ้านดอนเมืองวิลล่า 2 - ถนนออเงิน - ถนนเพิ่มสิน
    หน้าวัดสร้อยทอง -- ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ทางโค้งถนนเลียบวารี
    ช่วงแยกประชานุกูล กับ แยกวงศ์สว่าง - ถนนรัชดาภิเษก ใกล้แยกถนนบึงขวาง ตัดกับถนนสุวินทวงศ์ - ถนนบึงขวาง
    เชิงลาดสะพานข้ามแยกรัชโยธิน - ถนนรัชดาภิเษก ใกล้คลองอเงิน -- ถนนออเงิน - ถนนเพิ่มสิน
    หน้าศาลอาญา - ถนนรัชดาภิเษก ใกล้ทางเข้าหมู่บ้านจูแมะขายหญ้า - ถนนบึงขวาง
    หน้าศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ - ถนนรัชดาภิเษก / ถนนวัฒนธรรม แยกกรุงเทพกรีฑา - ถนนศรีนครินทร์
    หน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - ถนนรัชดาภิเษก หน้าแฟลตการเคหะแห่งชาติ - ถนนรามคำแหง
    ทางโค้งบนสะพานข้ามแยกบางกะปิ - ถนนลาดพร้าวเสรีไทย ทางโค้งซอยโรงเรียนสตรีวิทยา 2
    ใกล้หมู่บ้านนวธานี - ถนนเสรีไทย หน้าการไฟฟ้านครหลวงคลองตัน - ถนนรามคำแหง
    ทางโค้งอุโมงค์ลอดทางแยกดินแดง - ถนนอโศกดินแดง หน้าการเคหะแห่งชาติ - ถนนนวมินทร์
    ทางโค้งบนสะพานข้ามแยกคลองตัน - ถนนเพชรบุรี - ถนนพัฒนาการ ใกล้คลองมะขามเทศ - ถนนเฉลิมพระเกียรติ
    ทางโค้งบนสะพานข้ามแยกจตุจักร - ถนนพหลโยธิน - ถนนกำแพงเพชร ใกล้คลองปลัดเปรียง - ถนนเฉลิมพระเกียรติ
    ทางโค้งบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตัดกับถนนสุขา (แยกนวลจันทร์) ใกล้คลองสองห้อง - ถนนเฉลิมพระเกียรติ
    ใกล้ลานกีฬาวัชรพล - ซอยวัชรพล ใกล้ทางเข้าสำนักงานเขตประเวศ - ถนนเฉลิมพระเกียรติ
    ทางโค้งถนนราษฎร์บูรณะ หน้าวัดดาวคนอง -- ถนนเจริญนค
    ซอยสุขสวัสดิ์ 1 - ถนนสุขสวัสดิ์
              Tell a friend:
     
        
                                          home